การวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ

โดยปกติแล้วผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายว่าจะเป็นโรคกระเพาะนั้นเมื่อเดินมาทางมาให้แพทย์ได้ทำการตรวจวินิจฉัย แพทย์ก็จะทำการสอบถามประวัติและลักษณะอาการที่เป็นเบื้องต้น จากนั้นจึงจะทำการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดว่าอาจเข้าข่ายเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือไม่ รวมถึงทำการตรวจพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร  , การเอกซเรย์กระเพาะอาหารด้วยการกลืนแป้งแบเรียมเพื่อตรวจดูความผิดปกติ หรืออาจมีการตรวจหาเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ด้วยการตรวจเลือด ตรวจอุจจาระ หรือการตรวจด้วยวิธีการพ่นลมหายใจ เป็นต้น

การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ

โดยส่วนมากผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบมักจะรักษาตามอาการเป็นหลัก ซึ่งหากผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบจากการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรที่มักพบได้บ่อย แพทย์ก็จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาคลาริโธรมัยซิน , ยาอะมอกซิซิลลินหรือยาเมโทรนิดาโซลเพื่อช่วยการฆ่าเชื้อ

ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบจากสาเหตุอื่นๆ แพทย์ก็จะรักษาไปตามอาการ เพื่อเป็นการประคับประคองและช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น อาทิ จ่ายยาลดกรดในกลุ่มโปรตอน ปั๊ม อินฮิบิเตอร์หรือเอช 2 รีเซพเตอร์ แอนตาโกนีสต์ เพื่อช่วยให้เกิดการหลั่งกรดและรักษาแผลที่เกิดในกระเพาะอาหาร นอกจากนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังจากการรับประทานยาในกลุ่มยาบรรเทาอาการปวด แพทย์ก็จะแนะนำให้หยุดพฤติกรรมการใช้ยาในเบื้องต้น รวมถึงทำการปรับเปลี่ยนยาที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันให้แทน อีกทั้งแพทย์ก็จะแนะนำให้หยุดพฤติกรรมที่อาจส่งผลให้อาการแย่ลง อาทิ การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน , เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมไปถึงการสูบบุหรี่